วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปบทที่ 1-11



บทที่ 1
ความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Introduction to Information and Communication Technology)

 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) จะประกอบไปด้วนสองคำ คือ คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ กับเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเป็นการพูดถึงการประมวลผลข้อมูลจนได้ข้อสนเทศ
  •  เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) ซึ่งในปัจจุบันรู้จักและเป็นที่เข้าใจกันคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสารสนเทศ
  • เทคโนโลยีการสื่อสาร  (Communication technology) หมายถึงกระบวนการส่งข้อมูล ข่าวสารต่างๆ จากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง โดยผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่มีอยู่
 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับงานด้านต่างๆ
  1. ด้านเศรษฐกิจ เริ่มต้นจากระดับประเทศ จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ได้เน้นยำถึงการบริหารจัดการด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อนำมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในประเทศ
  2. ด้านการศึกษา จะรู้จักกันในนามคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  3. ด้านการความบันเทิง สามารถดูทีวีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือการถ่ายทอดสดผ่านอินเทอร์เน็ต
บทที่ 2
ระบบคอมพิวเตอร์
(Computer System)

คอมพิวเตอร์คืออะไร
     คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยในการอำนวยความสะดวก ด้านความบันเทิงและการทำงานของมนุษย์ตามความต้องการที่แตกต่างกันออกไป
ประเภทของคอมพิวเตอร์
     Super Computer เป็นคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพด้านการคำนวณและการประมวณผลสูงมากที่สุด
     Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องเมนเฟรม จะมีลักษณะเป็นตู้สูงใหญ่และตั้งวางอยู่ในห้องโดยเฉพาะ
     Mini computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะรองลงมาจากเมนเฟรม ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อมกัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้
     Micro Computer เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก บุคคลทั่วไปสามารถซื้อไว้ใช้งานหรือเพื่อความบันเทิง
     Notebook เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็ก
     Tablet PC เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็กกว่าโน้ตบุ๊ก คล้ายแผ่นกระดาน

ความสามารถของคอมพิวเตอร์
  • ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
  • การทำงานด้วยความเร็วสูง
  • ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้
  • การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก
  • การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
    องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากร
องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
  1. อุปกรณ์อินพุต เป็นส่วนแรกที่ติดต่อกับผู้ใช้ หน้าที่หลักคือตอบสนองการสั่งงานจากผู้ใช้ทำให้คอมพิวเตอร์สัมผัสและรับรู้สิ่งต่างๆ จากภายนอกเครื่องเป็นสัญญาณข้อมูลและส่งต่อไปจัดเก็บหรือพักไว้ที่หน่วยความจำ
  2. หน่วยประมวณผล ส่วนที่ทำหน้าที่ในการคำนวณและประมวณผลเป็นส่วนที่ทำงานต่อเนื่องจากอุปกรณืรับเข้าต่างๆ
  3. หน่วยความจำ หน่วยที่สำคัญที่จะต้องทำงานร่วมกันกับหน่วยประมวลผลอยู่โดยตลอด หน้าที่หลักคือ การเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ที่ถูกส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลจัดเก็บไว้ชั่วคราวก่อนที่จะส่งต่อไปให้หน่วยประมวลผล
  4. อุปกรณ์เอาต์พุต คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลไปสู่มนุษย์ เราเรียกเครื่องมือในส่วนนี้ว่าอุปกรณ์แสดงผล
บทที่ 3
ซอฟต์แวร์ระบบ
(System Software)

ความหมายของซอฟต์แวร์
     ชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้กับผู้ใช้ โดยแต่ละโปรแกรมจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
     ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ซอฟต์แวร์ระบบ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์

บทที่ 4
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Application Software)

โปรแกรมระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Automatic Software)
  1. โปรแกรมประมวลคำ (Word processor) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการด้านเอกสารเป็นหลัก การพิมพ์หนังสือ แบบฟอร์อมต่างๆ
  2. โปรแกรมตารางคำนวน (Spread sheet) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่หลักในการคำนวนงานด้านตัวเลข การทำบัญชี หรืองานด้านวิทยาศาสตร์
  3. โปรแกรมนำเสนอ (Presentation) โปรแกรมประเภทนี้เป็นการสร้างสื่อสำหรับการนำเสนอผลงาน
  4. ซอฟต์แวร์ตกแต่งรูปภาพ โปรแกรมประเภทนี้มีไว้สำหรับการแต่งรูปภาพให้มีความสวยงามตามความต้องการของผู้ใช้
  5. โปรแกรมสำหรับนักออกแบบ โปรแกรมประเภทนี้มีไว้สำหรับการออกแบบงานด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างอาคาร การเขียนแผนภาพ ออกแบบระบบเครือข่าย
  6. โปรแกรมสำหรับความบันเทิง (Entertainment) โปรแกรมประเภทนี้ใช้สำหรับให้ความบันเทิงเป็นหลัก เช่น ดูหนัง ฟังเพลง
  7. โปรแกรมสำหรับการทำงานด้านคณิตศาสตร์(Mathematic) การคำนวนด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงการคำนวนโมเดลด้านโมเลกุล
  8. โปรแกรมเครื่องมือ (Utilities & Tools) กลุ่มโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้ทำการตรวจสอบและแก้ไขอาการผิดปกติเบื้องต้นหรืออาจใช้สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์
  9. ดีไวซ์ไดรเวอร์ (Device driver) ผู้ผลิตระบบปฎิบัติการจึงทำหน้าที่ของระบบฮาร์ดแวร์ ผลิตโปรแกรมเพื่อติดต่อกับระบบปฎิบัติการ โปรแกรมที่ได้จากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เหล่านี้ ถูกเรียกว่า ดีไวซ์ไดรเวอร์
  10. พอร์ต (port) คือช่องสำหรับติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นจอภาพ แป้นพิมพ์ เครื่องพิมพ์ ระบบเครือข่าย เป็นต้น
  11. โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Browser) โปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมสำหรับใช้ในการท่องเว็บ มีหลายโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ อินเตอร์เน็ต (IE) ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) โครม (Chrome) และซาฟารี (Safari)

บทที่ 5
การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(Data Communication and Computer Network)

บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเคือข่ายคอมพิวเตอร์
     การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้รากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้วเช่นโทรศัพท์ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัดต่อมามีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นความต้องการในการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย (Network System) ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและการสื่อสารได้รวดเ็ร็ว
  2. ความถูกต้องของข้อมูล
  3. ความเร็วในการทำงาน
  4. ต้นทุนการประหยัด
การสื่อสารข้อมูล
  1. ผู้ส่ง(Sender)
  2. ผู้รับ(Receiver)
  3. สื่อกลางหรือตัวกลาง (Medium)
  4. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
  5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องดดยทั้งสองฝั่ง
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล
  1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
  2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
บทที่ 6
การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(Internet Network Connection)

ความหมายของอินเทอร์เน็ต
     อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นการรวมคำสองคำเข้าด้วยกันคือ Internertional + Networking หรือเครือข่ายของนานาชาติที่ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของเรียกอีกอย่างว่าไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) ต่อมานิยมเรียกกันสั้นๆว่าอินเทอร์เน็ตหรือเน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
     การเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคล เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านคู่สายโทรศัพท์หนึ่งหมายเลขไปยังผู้ให้บริการโดยคิดค่าบริการตามจำนวนชั่วโมงการใช้งาน
     การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูงกว่าแบบส่วนบุคคลและเป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรตลอดเวลากับผู้ให้บริการด้วยสายเช่า (Lease line) และใช้อุปกรณ์พิเศษเช่น โทเด็มแบบดิจิตอล (Digital Modem) อุปกรณ์ชี้เส้นทาง (Router)
ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต
  1. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เป็นขนาดใหญ่
  2. นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆเป็นต้น
  3. สามารถซื้อสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โทษของอินเทอร์เน็ต
  1. โรคติดต่ออินเทอร์เน็ต (Webaholic)
  2. เรื่องอาณาจารผิดศีลธรรม (Pornography/Indecent Content)

บทที่ 7
เว็บแอพพลิเคชั่น




 การสืบค้น ค้นคว้าหาข้อมูล
   จุดมุ่งหมายให้ทราบถึงการสืบค้น ค้นคว้าข้อมูลการติดต่อสื่อสารผ่าน E-mail และการสร้าง                      เว็บไซต์อย่างง่าย
   
การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลผ่าน E-mail
   จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต

       ชนิดของการรับส่ง E-mai

  • รับส่งโดยใช้โปรแกรม
  • รับโดยผ่านเว็บไวต์
  • รับส่งโดยผ่านเว็บเบราว์เซอร์


 การสร้างเว็บไวต์อย่างง่าย 
   การสร้างเว็บไวต์แบบง่ายๆเบื้องต้น จะนำเสนอการสร้างเว็บด้วยโปรแกรมพื้นฐานที่มากับ                        ระบบปฏิบัติการ


บทที่ 8
เครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social Network)


 ความเป็นมาของเครือข่ายสังคมออนไลน์
   เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีและเว็บรูปแบบใหม่  เน้นผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ลงบนเว้บไซต์      ร่วมกัน และสามารถตอบโต้กับข้อมูลที่มีอยู่บนเว็บไวต์ได้ ผู้ใช้สามารถสร้าเนื้อหาแลกเปลี่ยน และกระจายข้อมูลแบ่งปันกันได้ตั้งแต่ระดับบุคคล

  ความหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์
   เครื่อข่ายสังคมออนไลน์ เป็นปรากฏการณ์ของการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อข่ายกับเครือข่ายสังคมออนไลน์เข้าด้วยกัน

ประเภทของเครื่อข่ายสังคมออนไลน์ 
  • ประเภทแหล่งข้อมูล
  • ประเภทเกมส์ออนไลน์
  • ประเภทสร้างเครือข่ายสังคม
  • ประเภทฝากภาพ
  • ประเภทสื่อ
  • ประเภทซื้อ-ขาย
 เว็บไซต์เครื่อข่ายสังคมออนไลน์
   เว็บไซต์เครื่อข่ายสังคมออนไลน์ในปัจจุบันมีจำนวนมาก และหลายๆประเทศทั่วโลกก้จะมีเว็บไซต์ที่นิยมเฉพาะของแต่ล่ะประเทศก็มี เช่น www.hi5.com  www.
facebook
.com

บทที่ 9
กูเกิ้ลแอพพลลิเคชั่น
(Google Application)



 กูเกิ้ลเมล
   เป็นบริการหลักที่จะต้องมีหากเราใช้บริการอย่างอื่นของกูเกิ้ล เพราะข้อกำหนดหลักของกูเกิ้ล คือจะใช้อีเมลของกูเกิ้ลในการเข้าใช้บริการอื่นๆทั้งหมด


 แผนที่่
   เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกอย่างหนึ่งของกูเกิ้ล โปรแกรมนี้จะเป็นการบอกเส้นทางให้แก่ผู้ใช้ สามารถเดินทางไปถึงปลายทางได้อย่างไร


  ปฏิทิน 
   เป็นบริการจัดตารางนัดหมายประจำวัน ผู้ใช้สามารถกำหนด วัน เวลานัดหมาย ผ่านบริการนี้ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะแลกเปลี่ยนตรารางนัดหมายกับบุคคลอื่นได้

กุเกิ้ลดอคคิวเมนท์
   เป็นโปรแกรมที่จัดการด้านเอกสารสำหรับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์เอกสาร โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมฝากไฟล์ โปรแกรมนำเสนอ  เป็นต้น
 กูเกิ้ลพลัส
   เป็นบริการใหม่ล่าสุดที่ทางกูเกิ้ลได้ัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างขึ้นมาให้เป็นเครื่อข่ายออนไลน์  เพื่อแข่งขันกับเครื่อข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆ

 บริการอื่นๆ ของกูเกิ้ลที่น่าสนใจของกูเกิ้ล
   กูเกิ้ลยังให้บริการอื่นๆที่น่าสนใจ อีกมากมาย ดังนี้  ไซต์  กูเกิ้ลกรุ๊ป  ยูทูบ  สกอลาร์


บทที่ 10
ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์


 ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์
เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการเข้า ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต 
องค์ประกอบของความมั่งคงปลอดภัยของสารสนเทศ

องค์ประกอบ 3 ประการได้แก่

  • ความลับ  การรับรองว่าจะต้องเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ  
  • ความถูกต้องสมบูรณ์  ป้องกันสารสนเทศให้มีความถูกต้อง เพราะมีผลต่อความเชื่อถือ
  • ความพร้อมใช้งาน  สารสนเทศสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน
  •   ภัยคุกคาม และ ช่องโหว่
  •     ภัยคุกคาม  คือ สาเหตุสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบคอมพิวเตอร์
  •     ช่องโหว่    คือ  จุดอ่อนของทรัพย์สินที่ถูกภัยคุกคามใช้เป็นช่องทางในการโจมตี

  โปรแกรมประสงค์ร้าย

  • มัลแวร์  ซอฟแวร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแอบเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ 
  • ไวรัส  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อเผยแพร่ออกไปในรหัสคอมพิวเตอร์
  • ม้าโทรจัน  ออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่างในเครื่องของเราจากผู้ไม่หวังดี
  • สปายแวร์  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกการกระทำของผู้ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์
   โปรแกรมป้องกันและกำจัดการคุกคาม 
 โปรแกรมไวรัสมี 2 แบบใหญ่ๆ

  • แอนติไวรัส  เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วไป  จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
  • แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมการโจรกรรมข้อมูล 
 เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย 

  • ไฟร์วอลล์  คือซอฟแวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครื่อข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์ คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารระหวางเขตที่เชื่อถือต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต โดยการกำหนดกฏ  และระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องการดูแลระบบเครื่อข่าย


บทที่ 11 
การยสาสตร์
(Ergonomics)



ความหมายของการยศาสตร์
      เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหรือปรับปรุงสภาพการทำงานอย่างเป็น  ระบบส่วนประกอบในการทำงานประกอบด้วย
  • มนุษย์
  • Interaction ในการทำงานคอมพิวเตอร์เครื่องจักรเป็นต้น
  • สภาวะแวดล้อในการทำงานได้แก่แสงสีเสียงซึ่งเป็นหลักการยสาสตร์
มาตรฐานและการออกแบบสถานีงานที่ใช้คอมพิวเตอร์
    งานคอมพิวเตอร์้เป็นงานที่ต้องนั่งทำตลอดเวลา สาเหตุที่มักจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติ งานจึงมาจากการออกแบบสถานีปฏิบัติงานที่ไม่ดีหรือสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดี
       ท่านั่งที่สามารถก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ การโน้นตัวไปข้างหน้า การยืดแขนมากเกินไป การนั่งเก้าอี้ที่ต่ำ หรือสูงเกินไป
มาตรฐานและการออกแบบแสงสว่างในการทำงานกับคอมพิวเตอร์
     การจัดแสงสว่างในการทำงานที่ไม่เหมาะสมอันได้แก่การที่จัดแสงสว่างน้อยเกินไปหรือมากเกินไป
 ปัญหาของแสงมีลักษณะดังนี้
  • แสงจ้าโดยตรง  เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงสว่างจ้าในระยะลานสายตา
  • แสงจ้าจากการสะท้อน  เมื่อแสงตกกระทบกับพื้นผิว เช่น  วัตถุผิวมัน
 ปัญหาสุขภาพและการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์
       ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
  • ความผิดปกติของผิวตา
  • การปรับโฟกัส
  • การจัดวางคอมพิวเตอร์ 
      การดูแลรักษาสุขภาพ
  • การพักสายตา
  • ปรับพฤติกรรมการใช้สายตา
   เคล็ดลับป้องกันจากโรคคอมพิวเตอร์
      จัดวางคอมพิวเตอร์ให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ วางจอภาพให้มีระยะห่างจากสายตาประมาณ 60 เซนติเมตร เก้าอี้มีที่หนุนหลังปรับให้ระดับสูงต่ำได้ให้ฝ่าเท้าวางราบกับพื้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น